บอนสีชายชล บอนสีที่สายลุ้นด่างต้องมีไว้สะสม จัดเป็นหนึ่งในบอนสีที่ผมชื่นชอบมาก เพราะเขามีความเป็นเอกลักษณ์ และยังมีชื่อที่เพราะไม่เหมือนใครอีกด้วย นอกจากนี้บอนสีชายชลนั้นยังเป็นบอนสีที่แผลงมาจากบอนสีชนิดหนึ่งที่มีชื่อว่า บอนสีอัปสรสวรรค์ ที่มีความแตกต่างกันที่พื้นใบ สำหรับชายชลนั้นจะเป็นสีเขียวเข้มกว่า ส่วนอัปสรสวรรค์นั้นจะมีพื้นใบที่เป็นสีอ่อนและมีสีชมพูมากกว่า เรียกได้ว่าแตกต่างแต่ลงตัวและงดงามไม่แพ้กันเลยครับ
ลักษณะของบอนสีชายชล
ใบ พื้นใบของบอนสีชายชลนั้นจะเป็นสีขาวกระจายทั่วทั้งใบ ขอบใบมีสีเขียวเข้ม กระดูกเป็นสีขาว และมีป้ายสีแดงอมชมพู บริเวณสะดือมีสีอมชมพูเล็กน้อย การป้ายของแต่ละใบนั้นจะแตกต่างเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว
สอบถาม โทร: 087-831- 4785 หรือติดต่อได้ที่ไลน์ ไอดี @tannaew และที่ facebook.com/tannaew99
ก้าน ใต้ใบมีสีขาว ไล่ไปเป็นสีเขียว ยิ่งโตสีก็จะเข้มขึ้น ความยาวของก้านไม่มากนัก ทำให้ดูเป็นกอสวยงาม
จุดเด่นของบอนสีชายชล
ลักษณะพิเศษของบอนสีชายชลนั้นคือมีพื้นใบสีเขียวค่อนข้างเข้ม ขอบใบมีป้ายสีแดงอมชมพู และพื้นใบยังมีสีขาวกระจาย สีสันนั้นดูโดดเด่นสะดุดตามาก ๆ ครับ แม้ต้นจะยังเล็กก็สังเกตเห็นป้ายสีแดงอมชมพู และความพิเศษที่ทำให้ใครเหล่านักสะสมชื่นชอบก็คือการลุ้นป้ายครับ เพราะบอนสีหนึ่งต้นนั้นอาจจะไม่ได้ป้าย 100% ทุกใบ หากใครที่โชคดีหน่อยก็จะป้ายทุกใบเลยก็ว่าได้ แต่หากใครโชคไม่ดีแล้วล่ะก็ อาจจะไม่ป้ายเลยก็ได้ครับ ซึ่งผมมองว่าเป็นเสน่ห์ของบอนสีชายชลเลย ปลูกบอนสีท่ามกลางความตื่นเต้นจริง ๆ ครับ เหมาะสำหรับสายลุ้นเป็นอย่างยิ่ง
การขยายพันธุ์ชายชล
สำหรับการขยายพันธุ์ชายชลนั้น สามารถขยายได้ 4 วิธี ได้แก่
- การแยกหน่อ วิธีนี้ทำได้โดยการแบ่งหน่อของต้นบอนสีจากโคนต้นแม่ แล้วนำไปปลูกในกระถางที่เตรียมเอาไว้
- ผ่าหัว ใช้หัวที่มีอายุไม่เกิน 1 ปี จะช่วยให้ต้นที่เกิดใหม่โตเร็วและแข็งแรง ใช้เวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์ บอนสีจะแตกหน่อและราก เมื่อเริ่มผลิใบแล้วประมาณ 1-2 ใบ จึงย้ายไปปลูกในกระถาง
- ผสมเกสร วิธีการนี้ทำได้โดยการนำดอกของต้นพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ที่บานในช่วงเวลาประมาณ 19:00-20:00 น. แล้วจึงทำการผสมเกสร ซึ่งบอนสีจะผสมติดภายใน 1 สัปดาห์ และฝักจะแก่เต็มที่ภายใน 30 วัน จึงสามารถนำเมล็ดไปเพาะได้
- เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อหรือปั่นตา ให้นำชิ้นส่วนเนื้อเยื่อเจริญของต้นบอนสีมาเลี้ยงในที่ที่มีการควบคุมอุณหภูมิ ความชื้น แสงสว่าง จนเกิดเป็นกลุ่มเนื้อเยื่อและพัฒนาเป็นบอนสีต้นใหม่
(ขอขอบคุณข้อมูลจาก 108 พรรณไม้ไทย)
แม้บอนสีชายชลจะเป็นบอนสีที่แผลงมาจากบอนสีชนิดอื่น แต่ก็ยังเรียกได้ว่าเป็นบอนสีที่มีความสวยงามเป็นเอกลักษณ์ไม่แพ้กับบอนสีแม่อย่างบอนสีอัปสรสวรรค์เลยครับ แต่บอนสีชายชลนั้นจะโตช้ากว่าหากเพาะด้วยวิธีการผ่าหัวในระยะเวลาเท่า ๆ กัน และเสน่ห์ของบอนสีชายชลนั้น คือการลุ้นป้ายที่ใบนั่นเองครับ หากต้องการความตื่นเต้นระหว่างการปลูกแล้วล่ะก็ บอนสีชายชล เหมาะสำหรับสายลุ้นป้าย หรือลุ้นด่างเป็นอย่างยิ่ง
หากใครเป็นสายลุ้นป้าย ลุ้นด่าง และอยากสะสมบอนสีชายชล สามารถสั่งซื้อได้ที่สวนตั้นแน้วของเราที่ Line ID: tannaew ได้เลยครับ